ทำไม Internal Branding ถึงสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะวัฒนธรรมองค์กรในปัจจุบันมีรูปแบบของการผสมผสานคนรุ่นเก่าผู้มากประสบการณ์ผนวกกับความคิดของคนรุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีได้คล่องเเคล่ว จนกลายเป็นพฤติกรรมกล้าคิดนอกกรอบและกล้าแสดงความคิดเห็น ดังนั้นเพื่อทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้จริง Baramizi Branding Academy จึงขอสรุปคุณสมบัติที่ควรมีมาให้
1. องค์กรที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture)การที่องค์กรนั้นมีการเปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงความคิดเห็น กล้าที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดซึ่งกันและกัน นำมาซึ่งการทำงานเป็นทีม ซึ่งลักษณะขององค์กรที่จะมีรูปแบบวัฒนธรรมแบบนี้ได้ จะต้องเป็นองค์กรที่มีหัวหน้าที่เป็น Leader มากกว่า Boss คอยสั่งการองค์กรที่สั่งการจากข้างบนลงข้างล่าง (Top Down) ซึ่งคุณสมบัตินี้จะส่งผลต่อ Learning Culture ขององค์กรนั้นๆด้วย
2. องค์กรที่ร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์ (Shared Vision)การร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์มีผลต่อความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างมาก โดยเราจะแบ่งกลุ่มคนออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ Top Management Middle Management และ Staff โดยองค์กรแห่งการมีวิสัยทัศน์ คือ องค์กรที่ทุกคนสามารถเข้าใจว่าเราจะเดินไปในทิศทางทางไหน มีเป้าหมายสูงสุด(Ultimate Goal)เป็นอย่างไร มุ่งทำงานในเชิงคุณค่าหรือเชิงธุรกิจ และสามารถเข้าใจแผนการดำเนินงาน(Road Map) ของธุรกิจได้อย่างชัดเจน ซึ่งองค์กรลักษณะนี้มักจะมีการสื่อสารที่ยอดเยี่ยมหรือ Internal Communication ที่ดีนั่นเอง
3. องค์กรที่เปิดใจ (Open Mind Culture)วัฒนธรรมการเปิดใจ หรือ Open Mind Culture ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น เวลาพนักงานคนใดคนหนึ่งในทีมมีเรื่องอึดอัดใจไม่เข้าใจ พวกเขาจะกล้าถามในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยไม่ต้องบอกผ่านใครซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้เกิดเรื่องการเมืองภายใน ดังนั้นองค์กรที่มีวัฒนธรรมแบบเปิดใจ ส่วนใหญ่จะเป็นองค์กรที่ทำงานเป็นทีมร่วมกันได้ดี มีการทำงานเป็นทีมที่เข้มข้นและแข็งแรงแต่ละคนไว้ใจซึ่งกันและกัน
4. การแบ่งปันความรู้ภายในองค์กร (Knowledge Sharing Culture)Ideo บริษัทด้านการวิจัยและพัฒนาการออกแบบในซิลิคอน วัลเลย์ (Silicon Valley) ติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก ได้จัดพื้นที่ Idea Market Place เพื่อให้องค์กรภายในมีกระดานบอร์ดขนาดใหญ่ไว้แบ่งปันความรู้แบ่งความคิดสร้างสรรค์กับเพื่อนๆในองค์กร โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน เผื่อจะมีไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยมซ่อนอยู่แต่ไม่มีโอกาสได้แบ่งปันออกมา ดังนั้นการแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing Culture) จึงเป็นเรื่องที่สะท้อน ตัวชี้วัดความเข้มแข็งในมิติของความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดีด้วย นอกจากนั้นการเปิดใจยังช่วยลดภาวะการเมืองภายในหรือการแบ่งพรรคแบ่งพวก ความเคลือบแคลงสงสัยซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความเชื่อใจ เข้าใจ และไว้ใจกัน ทำให้เกิดความกล้าที่จะแลกเปลี่ยนความคิด เกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาองค์กรได้อีกมากมาย
5. องค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovation Culture)เป็นลักษณะขององค์กรที่มีวัฒนธรรมในการค้นคว้า พัฒนา และแสวงหานวัตกรรมใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผู้บริหารระดับสูงจะต้องใช้ระบบ OKR ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์องค์กร เพราะการสร้างนวัตกรรมจะอยู่ภายใต้แรงกดดันที่มากเกินไปไม่ได้ เนื่องจากต้องอาศัย “FailFast” ล้มอย่างรวดเร็ว ที่ไม่ได้หมายความว่าล้มเหลว แต่เป็นการเปิดรับความคิดใหม่และเก็บรับบทเรียนแล้วลุกขึ้นเพื่อนำองค์กรก้าวสู่ความสำเร็จต่อไปนั่นเอง ซึ่งผู้ที่คิดค้นนวัตกรรมจะค่อนข้างกลัว KPI มาก เนื่องจากบางครั้งเกิดความผิดพลาดเพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้นหน้าที่ขององค์กรหรือผู้บริหารระดับสูงในการสร้าง Innovation Culture คือ การสนับสนุนทั้งงบประมาณ โอกาส และเวลาทีมได้ลองผิดลองถูกภายใต้เงื่อนไขที่ว่า จะต้องไม่นำความเสียหายมาให้แก่บริษัท เพื่อเข้าสู่การเป็น Innovation Culture
- คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลําปาง วิชาวิถีชีวิตและแนวโน้มการออกแบบ(Consumer Lifestyle and Trend)
- ผู้ออกแบบหลักสูตร Strategic Brand Design for Business Transformation ของ CEA (หรือTCDC)
- ผู้ออกแบบหลักสูตรการสอนผู้ประกอบการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ( DBD )