นันยาง "ทุกก้าวคือตำนาน" สโลแกนที่หลายคนคงคุ้นหู
รองเท้าผ้าใบนันยาง และรองเท้าแตะนันยาง ตรา ช้างดาว ไอเทมสุดฮิตของวัยรุ่นตั้งแต่รุ่นเก๋าจนถึงรุ่นปัจจุบัน ซึ่งเป็นรองเท้าของประเทศไทยที่ผลิตมาแล้วกว่า 300 ล้านคู่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2496
ถูกออกแบบอย่างเรียบง่าย และลงตัว จึงเป็นที่นิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ แต่ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นนั้น แบรนด์นันยางทำได้อย่างไร ???
เมื่อตลาดรองเท้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ไม่ได้มุ่งเน้นราคาหรือประโยชน์เพียงอย่างเดียว นันยางจึงหันมาทำการตลาดเพื่อเอาชนะสงครามรองเท้าอย่างจริงจัง ด้วยกลยุทธ์สร้างความแตกต่าง
1.การแตกต่างด้วยกลยุทธ์กลุ่มลูกค้า (Target Persona Strategy)
ด้วยตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป รองเท้าที่ใส่ได้ทุกสถานการณ์อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์กับยุคสมัยนี้ นันยางจึงเน้นการใช้งานที่เฉพาะกลุ่มมากขึ้น อย่างกลุ่มนักกีฬาแบดมินตัน กลุ่มนักกีฬาตะกร้อ และกลุ่มนักเรียน เป็นหลัก ที่สะท้อนในการทำการตลาด หรือสื่อโฆษณา รวมถึงการเจาะกลุ่มตลาดใหม่ ๆ เช่น การออกรองเท้าผ้าใบสำหรับนักเรียนหญิง การออกรองเท้าแตะช้างดาวสำหรับพระสงฆ์ และ Nanyan Red สำหรับแฟนลิเวอร์พูล เป็นต้น
2.การแตกต่างด้วยกลยุทธ์จุดยืนแบรนด์ (Brand Positioning Strategy)
การวางจุดยืนของนันยาง ที่ไม่ได้เน้นการผลิตเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านคุณภาพของสินค้าเป็นหลัก ด้วยพื้นที่เป็นเอกลักษณ์ของรองเท้าของนันยาง ผลิตจากยางพาราไทยแท้ 100% ทำให้มีคุณสมบัติเกาะพื้น และยืดหยุ่นได้ดี
3.การแตกต่างด้วยการออกแบบอัตลักษณ์แบรนด์ และออกแบบประสบการณ์ (Brand Identity Strategy and Brand Experience Strategy)
การสร้างความแตกต่างผ่านการใส่สตอรี่ หรือเรื่องราวตำนานของการใช้งานจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูกของนันยาง ที่สะท้อนถึงความเก่าแก่ของแบรนด์ และเป็นที่รู้จักของคนทุกวัย รวมถึงมอบประสบการณ์กระแสรักษ์โลก ที่มีไอเดียนันยางนิวเจนเนอเรชั่น นำรองเท้าแตะนันยางกับรองเท้าแตะทั่วไป มาเข้าสู่กระบวนการ Upcycled เกิดเป็นรองเท้า KHYA (ขยะ) รองเท้ารักษ์โลกสุดเท่ เพื่อช่วยลดปัญหาขยะทางทะเล
3 กลยุทธ์หลักที่สร้างความแตกต่างให้กับนันยาง ที่ยังคงเป็นตำนานและปรับตัวก้าวทันกระแสและเทรนด์ต่าง ๆ เพื่อรักษาความเป็น นันยาง ให้อยู่ในใจของคนไทยเสมอ
หากคุณอยากทำความเข้าใจการทำธุรกิจและการสร้างแบรนด์ในช่วงเริ่มต้นได้อย่างถูกต้อง มีทิศทางที่ชัดเจน เพื่อให้มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจน้อยที่สุด เรียนรู้ได้ในคอร์ส หลักสูตรการพัฒนาธุรกิจและแบรนด์ช่วงเริ่มต้น (Start up)
https://baramizibusinessacademy.com/courses/startup/
#BBA #Business #Business Prototype #ต้นแบบธุรกิจ #สร้างต้นแบบธุรกิจ #นันยาง