ชาที่จริงใจคือ ชาที่เรารู้จักกันดี และหนึ่งในแบรนด์ชาไทยที่เราต้องยกนิ้วโป้งให้ ก็คือ ชาตรามือ ค่ะ ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจเครื่องดื่มประเภทชา การสร้าง Superfans ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่แบรนด์ชานี้ สามารถต่อยอดธุรกิจได้ครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ (ไร่ชา) จนถึงปลายน้ำ (ร้านขายเครื่องดื่ม) เราไปดูกันเลยค่ะว่าแบรนด์ชาตรามือมีกลยุทธ์อะไรที่น่าสนใจกันบ้าง
- จุดเริ่มต้น พ.ศ. 2468 รุ่นของอากง ผู้อพยพชาวจีน ที่ได้เปิดร้านชาจีน ‘ลิมเมงกี’ ย่านเยาวราช เป็นร้านจำหน่ายชาร้อนใบชาและอุปกรณ์ชงชา ซึ่งนำเข้ามาจากเมืองจีน ก่อนที่จะไปปลูกชาเองที่เชียงราย จนมาสู่รุ่นพ่อ เปิดโรงงานแปรรูปที่เชียงราย ขายส่งรับซื้อใบชา แปรรูปและจำหน่ายในจังหวัด จนปัจจุบัน คุณพราวนรินทร์ เรืองฤทธิเดช (ทายาทรุ่นที่ 3)
-
รายได้รวมในปี 2565 : 785 ล้านบาท กำไร 92 ล้านบาท (ที่มาข้อมูล กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ วันที่ 28 ธ.ค. 66)
- สาขาในไทย สาขา 144 สาขา (มี.ค. 2566) และเปิดตลาดต่างประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เมียนมา มาเลเซีย เกาหลีใต้ และเวียดนาม
-
สร้าง Awareness ที่ดีจากลูกค้าคุณพราวนรินทร์ ทายาทรุ่นที่ 3 เริ่มทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยใช้
1. กลยุทธ์การออกบูธงานแสดงอาหารและเครื่องดื่ม พร้อมสาธิตการชงชาให้ลูกค้าได้ทดลองชิม
2. กลยุทธ์การมีช่องทางจำหน่าย : เปิดร้านชาตรามือแห่งแรง เป็นของตนเอง ถือว่าให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก จดจำและใกล้ชิดลูกค้าได้มากขึ้น
-
Functional Value ที่เด่นชัด ชาตรามือ เป็นแบรนด์ที่ให้ความสำคัญในเรื่องของ โลเคชัน ถูกเลือกอย่างเหมาะสมที่จะทำให้แบรดน์เป็นที่รู้จักมากขึ้น และ คุณภาพสินค้า ที่มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าอยู่เสมอทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำ
-
แบรนด์ที่สร้างจากลูกค้าเรียกกันจากเดิมที่สินค้าไม่มีชื่อแบรนด์ มีเพียงโลโก้ ที่เป็นรูปยกนิ้วโป้ง คนสมัยนั้นจึงเรียกกันเองว่า ชาตรามือ ชาตราหัวแม่โป้ง จนสุดท้ายในปี พ.ศ. 2488 จึงให้ชื่อแบรนด์อย่างเป็นทางการว่า “ชาตรามือ”
-
Franchise Strategy ใช้กลยุทธ์การขยายสาขาแฟรนไชส์ โดยเน้นไปที่สนามบิน แหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มชาวต่างชาติ รวมถึงประเทศในการขยายเน้นประเทศในอาเซียน ที่มีรสนิยมการดื่มชาคล้ายคนไทย
#BBA #Branding #customerinsight #brand #Superfans #ChaTraMue #Tea