Branding เป็นตัวช่วยให้ธุรกิจของคุณแตกต่างจากคู่แข่ง เพราะในยุค Digital Disruption นี้ เเค่ชื่อเเบรนด์ที่ติดหูและโลโก้ที่สวยงามนั้นไม่เพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคยุคใหม่ได้อีกต่อไป Baramizi Branding Academy ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จะช่วยให้คุณสามารถชนะคู่แข่งและโดดเด่นขึ้นได้ในอุตสาหกรรม ตั้งแต่การออกแบบโลโก้ แฮชแท็กในโซเชียลมีเดีย ไปจนถึงกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยลูกค้า และเทคโนโลยีการสร้างแบรนด์ต่าง ๆ
1. Logo Adaptability เพราะโลโก้คือภาพจำของบริษัทที่ต้องมีอยู่ทุกหนทุกแห่งที่ผู้บริโภคสามารถสังเกตเห็นได้ หากคุณต้องการเติบโตในยุคดิจิทัล คุณจะต้องมี Website และ Social Media Platform ที่หลากหลายมากขึ้น เทรนด์นี้จึงทำให้บริษัทต้องออกแบบ Logo ที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ ตามขนาด ความซับซ้อน หรือสี ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปใช้กับอะไร เช่น สร้าง Logo หลักไว้ใช้งานกับเว็บไซต์ เเละสร้างไอคอนที่เรียบง่ายกว่าไว้ใช้งานกับบัญชี Instagram อีกทั้งการสร้าง Logo สีโทนเดียวกัน ก็สามารถนำไปใช้เป็นลายน้ำบนรูปภาพได้ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้ลูกค้าของคุณจดจำตราสินค้าของคุณในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ถือว่าเป็นการเพิ่มโอกาสในการจดจำแบรนด์ได้ดีทีเดียว
2. Blandified Branding หลายปีมานี้เทรนด์ Minimalism มาเเรงมาก ทุกคนต่างต้องการกำจัดความยุ่งเหยิงออกจากชีวิตประจำวัน หลายคนคงรู้จัก Marie Kondo ที่เป็นนักจัดบ้านเเละเป็นเเเรงบันดาลใจของภาพยนต์เรื่อง How to ทิ้ง ด้วยเหตุนี้หลาย ๆ บริษัทจึงหันมาสร้างแบรนด์ให้เป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุดอย่าง Google และ Airbnb เพิ่งมีการปรับโฉม Logo เป็น Sans-serif ซึ่งเป็นแบบอักษรยอดนิยมสำหรับ Minimalism จะสังเกตได้จากแบรนด์แฟชั่นชั้นนำ เช่น Balmain, Yves Saint Laurent, Balenciaga เเละแบรนด์อื่น ๆ ก็หันมาทำตามความเหมาะสมเช่นกัน อย่างการเลือกใช้สีให้น้อยลง ใช้ Negative Space มากขึ้น และใช้ Font ที่เรียบง่ายขึ้น คุณรู้หรือไม่ 95% ของบริษัทชั้นนำในปัจจุบันนิยมใช้เพียง 2 สีในการสร้างแบรนด์ เช่น Glossier, Muji หรือ Uniqlo
3. Nostalgic Brand Marketing หลาย ๆ คนเริ่มถวิลหาความสุขเมื่อครั้งเก่า คิดถึงอดีตที่เเสนหวาน เเละอยากหวนกลับไปดื่มด่ำความรู้สึกเหล่านั้นอีกครั้ง ด้วยกลยุทธ์เเบบ Nostalgic Brand Marketing สามารถเรียกความทรงจำเก่า ๆ และเชื่อมโยงความรู้สึกเชิงบวกกับผลิตภัณฑ์และบริการได้ ซึ่งเป็นโอกาสในการเพิ่มความไว้วางใจของลูกค้าและการระลึกถึงแบรนด์ (Brand Recall) ได้ โดย Nielsen เปิดเผยว่าการโฆษณาที่สอดคล้องกับอารมณ์นั้นให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ยกตัวอย่างโฆษณา “Child of the 90s” ของ Microsoft ในปี 2013 ที่แสดงให้เห็นการพัฒนาของ Internet Explorer ไปพร้อมกับการเติบโตของเด็ก ๆ ยุค 90 จนถึงปัจจุบัน หรือ โฆษณาย้อนยุคของ Spotify ที่สะท้อนวัฒนธรรมยุค 80 และ 90 และเปรียบเทียบกับเทรนด์ปี 2019
4. Branded Visual Content มนุษย์เราจดจำภาพได้ดีกว่าเนื้อหารูปแบบอื่น เเต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเนื้อหาภาพทุกประเภทสามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองกับกลุ่มเป้าหมายของคุณเสมอไป โดย HubSpot พบว่าภาพของตราสินค้าได้รับความสนใจมากกว่าโฆษณาและเนื้อหาส่งเสริมการขายรูปแบบอื่น ๆ ถึง 67% นอกจากนี้ยังช่วยสร้างโอกาสในการขายใหม่ ๆ บนโซเชียลมีเดียด้วยเนื้อหาประเภท GIFs, Charts, Infographics, เเละ Videos ซึ่งก่อนที่คุณจะใช้กลยุทธ์นี้อย่าลืมสะท้อนตัวตนของแบรนด์ เช่น หากเป็นอินโฟกราฟิกให้ใช้รูปแบบตัวอักษรที่เป็นทางการของคุณหรือตกแต่งโดยใช้โทนสีของคุณ หากเป็นวิดีโอให้เพิ่ม Logo ของคุณที่มุมล่างของวิดีโอ เป็นต้น
5. Social Media Branding ไม่แปลกใจเลยที่ 90% ขององค์กรใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดียเพื่อสร้าง Brand Awareness คุณจึงจำเป็นต้องใส่ใจกับวิธีการแสดงผลิตภัณฑ์และบริการของคุณบนแพลตฟอร์มเหล่านี้ โดยการศึกษารูปแบบของเเต่ละเเพลตฟอร์ม อีกทั้งคุณจะต้องกำหนด Theme ให้สอดคล้องกันอย่างโทนสีและการจัดวาง เพื่อให้แบรนด์ของคุณมีเอกลักษณ์ นอกจากนี้คุณจะต้องอัปเดตการเปลี่ยนแปลงของเเพลตฟอร์มอยู่เสมอ จากรายงานล่าสุดของ Bynder State of Branding Report บริษัทกว่า 65% กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมของโซเชียลมีเดียเป็นภัยคุกคามต่อการสร้าง Engagement กับแบรนด์ คุณจึงต้องหาเครื่องมือจัดการโซเชียลมีเดีย วางแผนการโพสต์ และวัดผลกระทบ
6. Official Hashtags จากข้อมูลของ Omnicore Agency ปัจจุบันกว่า 7 ใน 10 ของ Hashtag บน Instagram เป็นชื่อเเบรนด์ เพราะ Hashtag ช่วยสร้าง Brand Awareness เเละเพิ่ม Brand Engagement ได้ถึง 10-50% ซึ่งการขอให้ลูกค้าโพสต์การซื้อล่าสุดพร้อมติด Hashtag จะช่วยให้คุณเข้าถึงผู้ติดตามได้มากขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้ารายอื่นแบ่งปันประสบการณ์กับแบรนด์ของคุณ ยังช่วยเพิ่มผู้ที่อาจจะซื้อได้ด้วย นอกจากการดึงดูดลูกค้าแล้ว Hashtag ถูกใช้เพื่อวัดพฤติกรรมการรับรู้เเบรนด์ของผู้บริโภคเช่นกัน
7. Online Communities การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้านั้นมีหลายรูปเเบบ ไม่ว่าจะเป็น Comments, Instant Messages, Phone Calls, E-mails เเละชุมชนออนไลน์ ซึ่งชุมชนออนไลน์ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มในการโต้ตอบซึ่งกันและกันด้วย เพื่อเชื่อมต่อลูกค้าที่มีความสนใจเดียวกันและสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างพวกเขากับแบรนด์ ตาม CMA ผู้ซื้อกว่า 37% ยึดติดกับบริษัทเพราะชุมชนออนไลน์ การได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแบรนด์ทำให้พวกเขาเชื่อใจบริษัทมากขึ้น อีกทั้งเพิ่มโอกาสที่พวกเขาจะซื้อสินค้าจากแบรนด์อีกด้วย โดย MarTech เผยว่า 2 ใน 3 ของแบรนด์ที่มีชุมชนออนไลน์จะมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากการมีส่วนร่วมของชุมชนที่แข็งแกร่ง เเละสามารถดูสิ่งที่พวกเขากำลังคุยกันบนเซิร์ฟเวอร์ได้ด้วย
8. Brand Authenticity ความไว้วางใจของลูกค้าลดต่ำลงตลอดเวลาในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ในปี 2019 Edelman Trust Barometer พบว่าผู้บริโภคเพียง 34% เชื่อถือเเบรนด์ที่ตัวเองซื้อ ซึ่ง Stackla เผยว่า 86% ของผู้ซื้อ มองว่าความน่าเชื่อถือเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ เเละคนรุ่นมิลเลนเนียลจำนวนกว่า 90% ชอบ บริษัทที่ “จริงใจเเละเป็นธรรมชาติ” มากกว่า บริษัทที่ "สมบูรณ์เเบบ" อย่างกรณีของ McDonald’s ที่มีการถกเถียงเรื่องส่วนผสม พวกเขาจึงเผยแพร่วิดีโอเบื้องหลังการทำอาหารเพื่อเเสดงความโปร่งใส พร้อมแคมเปญ “Our Food, Your Questions” เพื่อตอบคำถามยอดนิยมที่เกี่ยวกับบริษัทของพวกเขา และโพสต์ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งสามารถจัดการกับความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับแบรนด์และควบคุมข่าวลือเชิงลบเกี่ยวกับอาหารของพวกเขาได้อย่างดีเยี่ยม
"THE STRATEGY" หมากรุกยังต้องคิด หมากธุรกิจไม่คิดได้ไง : EP.04 ตัวชี้วัดความแข็งแรงของแบรนด์ ดูจากอะไร? ตอนที่ 3 "ต้องมี Brand Value"
คุณจุลเกียรติ สินชัยชูเกียรติ
CEO Baramizi Group and brand consultant
- คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลําปาง วิชาวิถีชีวิตและแนวโน้มการออกแบบ (Consumer Lifestyle and Trend)
- ผู้ออกแบบหลักสูตร Strategic Brand Design for Business Transformation ของ CEA (หรือTCDC)
- ผู้ออกแบบหลักสูตรการสอนผู้ประกอบการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD)